โครงการฝึกปฏิบัติงานในระบบโรงพยาบาลของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง สาขาวิชาทันตแพทยศาสตร์ แขนงวิชาศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล
ชื่อโครงการ โครงการฝึกปฏิบัติงานในระบบโรงพยาบาลของนักศึกษา
หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูงทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก
สาขาทันตแพทยศาสตร์ แขนงวิชาศัลยศาสตร์ช่องปาก และแม็กซิลโลเฟเชียล
หน่วยงานที่รับผิดชอบ ภาควิชาศัลยศาสตร์ช่องปาก
หลักการและเหตุผล
เนื่องด้วยการเรียนการสอนกระบวนวิชาคลินิกศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียลขั้นสูง 5 และขั้นสูง 6 (ท.ศป. 408765 และ ท.ศป. 408766) ของหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง แขนงวิชาศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล ซึ่งเป็นกระบวนวิชาฝึกปฏิบัติงานทางคลินิก ให้การรักษาผู้ป่วยทางศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียลทั่วไป ทั้งที่เป็นผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในโรงพยาบาล
ณ ปัจจุบันพบว่าจำนวนผู้ป่วยและความหลากหลายของโรคที่เข้ามารับการรักษาในคณะทันตแพทยศาสตร์มีจำนวนจำกัด กอปรรูปแบบการจัดการการให้บริการแก่ผู้ป่วยในของคณะมีลักษณะเฉพาะที่อาจแตกต่างจากลักษณะการให้บริการผู้ป่วยในของโรงพยาบาลของรัฐทั่วไปที่นักศึกษาส่วนใหญ่จะต้องกลับไปปฏิบัติงานภายหลังการจบการศึกษา
ดังนั้น การส่งนักศึกษาเพื่อฝึกปฏิบัติงานเพิ่มเติมในโรงพยาบาลของรัฐที่มีศัลยแพทย์ ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียลปฏิบัติงานอยู่ จึงเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการเรียนการสอนในกระบวนวิชาดังกล่าว และทำให้บัณฑิตที่จบการศึกษามีความรู้ ประสบการณ์ และความสามารถที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้นต่อไป
วัตถุประสงค์
เพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติงานการรักษาผู้ป่วยและเรียนรู้ระบบการให้การรักษาผู้ป่วยทางศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียลในโรงพยาบาลของรัฐ
ระยะเวลาดำเนินการ 3 เดือน (พฤศจิกายน 2553 – มกราคม 2554)
สถานที่ฝีกปฏิบัติงาน โรงพยาบาลของรัฐที่มีศัลยแพทย์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียลปฏิบัติงานอยู่
ผู้เข้าร่วมโครงการ
1. นักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง 5 คน
2. ทันตแพทย์ที่เป็นอาจารย์พิเศษประจำโรงพยาบาล 6 คน
3. อาจารย์ภาควิชาศัลยศาสตร์ช่องปาก 6 คน
วิธีดำเนินการ
1. ประสานงานกับโรงพยาบาลของรัฐ 3 แห่ง (โรงพยาบาลพิจิตร โรงพยาบาลน่าน และโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์)
2. ส่งนักศึกษาออกไปฝึกปฏิบัติงานในโรงพยาบาลกลุ่มละ 2 คน/เดือน ภายในระยะเวลาทั้งหมด 3 เดือน ภายใต้การดูแลของอาจารย์พิเศษประจำโรงพยาบาล โดยมีกิจกรรมหลักดังนี้
2.1 ปฏิบัติงานให้การรักษาผู้ป่วยทางศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียลทั้งที่เป็นผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก
2.2 สัมมนาทางวิชาการ / วารสารวิชาการทางการแพทย์ อย่างน้อย 2 ครั้ง/เดือน
3. อาจารย์ภาควิชาศัลยศาสตร์ช่องปากออกไปนิเทศการฝึกปฏิบัติงานที่โรงพยาบาลของรัฐทั้ง 2 แห่ง
4. สรุปและประเมินผลการฝึกปฏิบัติงานโดยนักศึกษาและอาจารย์
งบประมาณ เงินรายได้คณะฯ จำนวน 50,212.- บาท (-ห้าหมื่นสองร้อยสิบสองบาทถ้วน-)
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. นักศึกษามีความรู้ ประสบการณ์เพิ่มเติมในการให้การรักษาผู้ป่วยทางศัลยศาสตร์ช่องปากและ แม็กซิลโลเฟเชียลจากที่ฝึกปฏิบัติภายในคณะทันตแพทยศาสตร์
2. นักศึกษาเข้าใจและสามารถปฏิบัติงานทางศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียลในระบบโรงพยาบาลของรัฐได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม
|