ประมวลการสอนรายวิชา
คลินิกศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียลขั้นสูง 5
(DOS 408765)
การประมวลการสอนรายวิชา
|
รหัสวิชา DOS 408765
|
จำนวนหน่วยกิต
|
4 หน่วยกิต
|
เงื่อนไขที่ต้องผ่านก่อน
|
ตามความเห็นของสาขาวิชา
|
สถานภาพกระบวนวิชา
|
กระบวนวิชาคลินิก
|
การเปิดสอน
|
วันจันทร์, อังคาร และพฤหัสบดี เวลา 09.00 – 12.00 น. และเวลา 14.00 – 16.30 น.
|
สถานที่
|
คลินิกศัลยศาสตร์ช่องปากและหอผู้ป่วย
|
คณาจารย์ผู้สอน
|
คณาจารย์ภาควิชาศัลยศาสตร์ช่องปาก
|
ผู้รับผิดชอบกระบวนวิชา
|
อาจารย์ชนธีร์ ชิณเครือ
|
คำอธิบายลักษณะกระบวนวิชา
|
|
เป็นการฝึกปฏิบัติงานคลินิกทางด้านศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล ในการรักษาผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อบริเวณช่องปากและใบหน้าที่มีสาเหตุจากฟัน โรคเนื้องอกและถุงน้ำในบริเวณกระดูกขากรรไกร การรักษาผู้ป่วยที่มีกระดูกใบหน้าหัก และการผ่าตัดเล็กในช่องปาก เช่น การผ่าตัดฟันคุดที่ยากและซับซ้อน การทำศัลยกรรมตกแต่งเนื้อเยื่อในช่องปากก่อนการใส่ฟันปลอม รวมถึงการให้การรักษาทางทันตกรรมในผู้ป่วยที่มีโรคทางระบบ
วัตถุประสงค์ เพื่อให้นักศึกษาสามารถ
1. ให้การดูแลรักษาผู้ป่วยโรคติดเชื้อที่เกิดจากฟัน
2. ผ่าตัดฟันคุดที่ยุ่งยากซับซ้อน
3. รักษาโรคเนื้องอกและถุงน้ำของกระดูกขากรรไกรและของเนื้อเยื่อในช่องปาก
4. รักษาผู้ป่วยกระดูกขากรรไกรหัก
5. ทำศัลยกรรมตกแต่งเนื้อเยื่อในช่องปากก่อนการใส่ฟันปลอม
6. ดูแลผู้ป่วยทางศัลยกรรมช่องปากที่มีโรคทางระบบตั้งแต่ขั้นตอนการตรวจ วินิจฉัย วางแผน การรักษา ให้การรักษา ตลอดจนการดูแลติดตามผลหลังการรักษา
เนื้อหากระบวนวิชา
ฝึกปฏิบัติงานในคลินิกไม่น้อยกว่า 225 ชั่วโมง ในเนื้อหาดังต่อไปนี้
1. เรียนรู้ขั้นตอนและหลักการทำศัลยกรรมที่ถูกต้อง
2. ฝึกปฏิบัติในการทำศัลยกรรมตกแต่งเนื้อเยื่อในช่องปากก่อนการใส่ฟันปลอม
3. ผ่าตัดฟันคุดที่ยุ่งยากซับซ้อน
4. รักษากระดูกขากรรไกรหัก
5. รักษาโรคติดเชื้อที่เกิดจากฟันและการใช้ยาปฏิชีวนะ
6. การรักษาเนื้องอกและถุงน้ำของกระดูกขากรรไกรและของเนื้อเยื่อในช่องปาก
7. การวินิจฉัยแยกโรคในช่องปาก และการตัดชิ้นเนื้อเพื่อส่งตรวจทางจุลพยาธิวิทยา
8. การรักษาทางศัลยกรรมช่องปากแก่ผู้ป่วยที่มีโรคทางระบบ
ลักษณะกิจกรรมการเรียนการสอน
1. ฝึกปฏิบัติงานในคลินิกศัลยศาสตร์ช่องปาก โดยใช้เวลาไม่น้อยกว่า 225 ชั่วโมง
2. การสาธิตกลุ่ม (Group demonstration)
3. การนำเสนอผู้ป่วยที่น่าสนใจ (Case presentation)
การประเมินผลการเรียนการสอน
1. ประเมินการทำงานในคลินิกโดยคณาจารย์ผู้ควบคุม 90% 2. จิตพิสัย 10%
แหล่งวิทยาการ
1. หน่วยศัลยกรรมช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล, เอกสารอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง กระดูกขากรรไกรล่างหัก กลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลชลบุรี
2. ธวัชชัย กาญจนรินทร์ และคณะ, การช่วยชีวิตผู้บาดเจ็บขั้นสูง. บ.รุ่งศิลป์การพิมพ์ (1977) จำกัด. 2544.
3. เชื้อโชติ หังสสูติ; ศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียลม บริษัทเยียร์บุ๊คพับลิชเชอร์ จำกัด, 2536.
4. อรสา ไวคกุล, จิรพันธ์ พันธุ์วุฒิกร, วัชรี จังศิริวัฒนธำรง, การวางแผนการรักษาทางทันตกรรมในผู้ป่วยที่มีโรคทางระบบ, 2537.
5. ตำราและวารสารในห้องสมุดที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาศัลยศาสตร์ช่องปาก
6. Marx RE, Stern D, Oral and maxillofacial pathology; a rationale for diagnosis and treatment : Quintessence Publishing Co., Inc. 2003.
7. Neville BW et al., Oral and Maxillofacial pathology, 1st ed. W.B.Saunders Company, 1995.
8. Fonseca RJ, Walker RV, Oral and Maxillofacial trauma, vol.1 and 2 1st, ed, W.B. saunders company, 1991.
9. Peterson LJ et al, Oral and Maxillofacial Surgery Vol.1-3, 1st ed, S.B.Lippincott Company, 1992.
10. Fonseca RJ et al., Oral and Maxillofacial Surgery Vol.1-7, 1st ed, W.b.Saunders Company, 2000.
11. Fuster CA, Sherman JE, Surgery of facial bone fractures, 1st, ed. Churchill Livinstone Inc. 1987.
12. Gordon W.Pedersen, D.D.S., M.S.D.; Oral Surgery, W.B.Saunders Company, 1988.
13. James W. Little, D.M.D., M.S. et al; Dental Management of the Medically Compromise Patient, 5th Edition, Mosby 1997.
14. Stanley F. Malamed, D.D.S., Handbook of local anesthesia 4th edition, Mosby, 1997.
|